สาวัตถี (Sravasti) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล
คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากสถานีรถไฟบาลรัมปูร์ (Balrampur) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 18 กิโลเมตร
เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น
สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือ
วัดเชตวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหารเป็นวัดที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย สร้างในบริเวณที่เดิมของเจ้าเชต ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าค์ประทับอยู่ที่นี่นานทีสุดถึง 19 พรรษา มีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ ส่วนภายในพระเชตวันมหาวิหาร มีซากหมู่เจดีย์และวิหาร
- มูลคันธกุฎี : เป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่เทวดาและมนุษย์ ณ ที่แห่งนี้
- หมู่กุฏิพระอริยสาวก : พระพุทธองค์ประทับนานถึง 19 พรรษา มีพระสาวกองค์สำคัญมาสนองงาน พระเชตวันจึงเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในครั้งพุทธกาล โดยรอบจะมีกุฏิพระอรหันต์ เช่นพระสารีบุตร พระสีวลีเถระ พระมหากัสสปะ องคุลีมาล พระโมคคัลลานะ พระอุบาลี-ราหุล พระอานนท์ เป็นต้น
- อานันทโพธิ : ต้นไม้มงคลในเชตวัน พระโมคคัลลานะนำเมล็ดจากพุทธคยาโดยทางอากาศ เป็นต้นโพธิ์ที่พระอานนท์ดำริที่จะปลูกขึ้น เพื่อเพื่อตรึกระลึกถึงพระพุทธเจ้าและท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้ปลูกตามพุทธประสงค์
- วิหารธรรมสภา : เป็นสถานที่โปรดพุทธบริษัททั้งหลายที่มาชุมนุมและเป็นจุดกำเนิดคำสอนในพระสูตร คาถาธรรมบทจำนวนมาก แม้แต่นางปฏาจาราวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้เสียสติก็มาได้สติ ณ วิหารธรรมสภาแห่งนี้
- วิหารสังฆสภา : เป็นที่ประชุมสงฆ์ สัมมนา ทบทวนหลักธรรม หัวข้อ เทศนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเสนอข้อพึงบัญญัติและปรับเปลี่ยน
- เจดีย์พระอรหันต์แปดทิศ: พระพุทธเจ้าทรงมอบภาระการเผยแผ่ให้หมู่พระอรหันต์เจ้า กระจายออกไปประกาศพุทธธรรม ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ (รัตตัญญู) ทิศบูรพา,พระมหากัสสปะ (ธุดงควัตร) ทิศอาคเนย์, พระสารีบุตร (ปัญญา) ทิศทักษิณ, พระอุบาลี (พระวินัย) ทิศหรดี, พระอานนท์ (พุทธอุปัฏฐาก) ทิศปัจฉิม, พระควัมปติ (มีพลัง) ทิศพายัพ, พระมหาโมคคัลลานะ (ฤทธิ์) ทิศอุดร, และพระราหุล (การศึกษา) ทิศอีสาน
- โภชนศาลา: คือ หอฉัน เป็นสถานที่ฉันภัตตาหาร น้ำ ปานะ ตลอดจนต้อนรับพระอาคันตุกะจากทิศทั้ง 4
- คิลานเภสัชศาลา: เป็นสถานพยาบาทภิกษุไข้
- กุฏิพระสงฆ์: เช่น กุฏิพระสีวลี, หมู่ภิกษุโกสัมพี ฯลฯ เป็นสถานที่ก่อด้วยอัฏฐิได้รับการบูรณะอยู่เนื่องๆ

บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีอยู่ในบริเวณพระราชวังของพระเจ้าปเสนทีโกศล เลยพระวิหารเชตะวันไปประมาณ 3 กิโลเมตร ที่ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐบ้านโบราณเรียงเป็นชั้นลดหลั่นกันไป มีบันใดขึ้นถึงยอด ตรงกลางจะแบ่งเป็นช่องคล้ายห้อง
อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นอุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เป็นผู้สร้างเชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธองค์ นอกจากจะอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า“อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งแปลว่าผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา หรือเศรษฐีขวัญใจคนจน ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก
บ้านปุโรหิต
บ้านปุโรหิตผู้เป็นบิดาของพระองคุลีมาล เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่กำลังบูรณะ อยู่โพรงแคบๆเป็นทางที่ลอดไปด้านในทะลุเป็นห้องกว้างปิดทึบสี่ด้าน ด้านบนเปิดโล่งถึงยอดอาคาร นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นสถูปอนุสรณ์สำหรับองคุลีมาล สาวกที่เคยฆ่าคนถึง 999 คน และตัดนิ้วมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอจนพบพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึงพระธรรมเทศนาโปรดองคุลีมาล จนเป็นพระอรหันต์
สถูปทรงแสดงยมกปาฏิหารย์
สถูปทรงแสดงยมกปาฏิหารย์เป็นเนินดินที่พระเจ้าอโศกมหาราชมาสร้างไว้ ณ สถานที่แห่งเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ เพื่อปราบ เดียรถีย์ (นอกศาสนา) ยมกปาฏิหาริย์ คือการแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ มีไฟ มีน้ำ เป็นต้น หลังจากนั้นเสด็จขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา เป็นเวลา 3 เดือน

วัดบุพพาราม
วัดบุพพาราม (หรือ บูรพาราม ที่แปลว่าทิศตะวันออก) เป็นวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับวัดเชตวัน ตั้งอยู่ทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล วัดนี้เป็นวัดที่่นางวิสาขาสร้างถวายพระพุทธเจ้าด้วยเงิน 27 โกฎิ หรือ 270 ล้าน พระพุทธเจ้าได้เคยทรงมาประทับถึง 6 พรรษา และเป็นสถานที่เป็นต้นกำเนิดการถวายผ้าอาบน้ำฝน
วัดราชิการาม
วัดราชิการามเป็นวัดที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวายเพื่อเป็นที่อยู่ของพระภิกษุณี
วัดพุทธนานาชาติ วัดไทย และวัดนานาชาติอีกหลายวัด
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก:
บทความที่เกี่ยวข้อง
แม่น้ำคงคา (Ganges River) เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
เขาคิชฌกูฏ (Gridhrakuta Hill) ประเทศอินเดีย
รวบรวมข้อมูลสำหรับผุ้ที่จะไปแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย,เนปาล